เมนู

ในข้อว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวในหนหลัง พึง
กล่าวด้วยอำนาจ ตังตังวาปนกนัย นั่นแหละ แต่เมื่อจะกล่าวไม่ควรยก
เวทนาใกล้จากเวทนาไกล แต่พึงยกเวทนาไกลจากเวทนาใกล้ เพราะเวทนาที่
เป็นอกุศล มี 2 อย่าง คือ เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ และสหรคตด้วยโทสะ.
ในเวทนา 2 เหล่านั้น เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ ชื่อว่า เวทนาใกล้
เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ,
แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ
ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ
ที่เป็นนิยตะ* ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะความเป็นสภาพยั่งยืน ชื่อว่า อนิยตะ
เพราะความเป็นสภาพไม่ยั่งยืนอย่างนั้น. พึงทราบเวทนาแต่ละส่วนว่าเป็น
เวทนาใกล้โดยเวทนาที่เป็นส่วนนั้น ๆ นั่นแหละ และเวทนานอกนี้พึงทราบว่า
เป็นเวทนาไกลจากส่วนนอกนี้ คล้อยตามเวทนาทั้งปวงอันต่างด้วยเวทนาที่ตั้ง
อยู่ตลอดกัป เวทนาที่เป็นอสังขาริก สสังขาริก และเวทนาอันต่างด้วยธรรมมี
ทิฏฐิคตสัมปยุตเป็นต้นในบรรดาจิตที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งถ้อยคำอันข้าพเจ้าให้พิสดารในนิเทศโอฬาริกทุกะนั่นแล.
เวทนาขันธนิเทศ จบ

3. สัญญาขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 14)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ ต่อไป.
บทว่า ยา กาจิ สญฺญา (สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถือเอาสัญญาที่เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา
* คำว่า นิยตะ หมายถึงยั่งยืน คือ เกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นในนรก.

สญฺญา(สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น ตรัสเพื่อแสดงสัญญาที่ทรงยกขึ้น
แสดงด้วยอำนาจสัญญาที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ.
บรรดาสัญญาเหล่านั้น สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส หรือในจักขุสัมผัส
ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชา. แม้ในสัญญาที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็ในสัญญา 6
เหล่านั้น สัญญา 5 อย่างข้างต้นมีจักขุปสาทเป็นต้นเป็นที่อาศัยเกิดโดยเฉพาะ
มโนสัมผัสสชาสัญญา (สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส) มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิด
บ้าง ไม่มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง สัญญาแม้ทั้งหมดจึง ชื่อว่า เป็นไป
ในภูมิ 4.

พึงทราบวินิจฉัยในโอฬาริกทุกนิเทศ บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺสชา
สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส ความว่า ผัสสะที่กระทำจักขุปสาทเป็นต้นที่เป็น
สัปปฏิฆะให้เป็นที่อาศัยเกิดปรารภรูปเป็นต้นที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น ชื่อว่า
ปฏิฆสัมผัส. สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัสนั้น หรือเกิดในปฏิฆสัมผัสนั้น
ชื่อว่า ปฏิฆสัมผัสสชา. แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่ จักขุสัมผัส ฯลฯ
สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานั้นนั่นแหละโดย
วัตถุ (คือที่อาศัยเกิด.) แม้คำว่า รูปสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ดังนี้
ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานนั้นนั่นเอง โดยอารมณ์ ก็แต่ว่า คำว่า ปฏิฆสัญญา
นี้เป็นชื่อของสัญญาทั้งโดยวัตถุ และอารมณ์. จริงอยู่ สัญญานี้ ตรัสเรียกว่า
สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆะ เพราะอาศัยวัตถุที่เป็นสัปปฏิฆะ (เป็นไปกับด้วยการ
กระทบ) และปรารภ อารมณ์ที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น. แม้คำว่า มโนสัมผัสสชา
นี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานี้ โดยปริยายเหมือนกัน. เพราะว่าจักขุวิญญาณ
ชื่อว่า มโน. ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส. สัญญาเกิดใน
มโนสัมผัสนั้น หรือเกิดแต่มโนสัมผัสนั้นมีอยู่. เหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัส-
สชา โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณก็ ชื่อว่า มโน

เหมือนกัน. ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส. สัญญาเกิดใน
มโนสัมผัสนั้น หรือแต่มโนสัมผัสนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัส-
สชา
แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมโนสัมผัสสชา
นี้ โดยปริยายนั้นแหละ. เพราะว่า นามขันธ์ 3 คือ เวทนา สังขาร และ
วิญญาณเป็นสภาวะหมุนไปเบื้องหลังเอง จึงกระทำชื่อสัญญาที่เกิดพร้อมกับตน
ว่า สัญญาเกิดแต่อธิวจนสัมผัส.
แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) สัญญาที่เป็นไปในปัญจทวาร
ชื่อว่าสัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวาร ชื่อว่า สัญญา
เกิดแต่อธิวจนสัมผัส. บรรดาสัญญาทั้ง 2 นั้น สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร
แม้ใคร ๆ แลดูแล้วก็อาจรู้ได้ เพราะฉะนั้น สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวารนั้น
จึงชื่อว่า สัญญาหยาบ. จริงอยู่ คนทั้งหลายแลดูบุคคลผู้กำหนัดเพ่งอยู่ก็
สามารถรู้ว่า บุคคลนี้กำหนัดเพ่งอยู่ หรือแลดูบุคคลโกรธเพ่งอยู่ ก็สามารถรู้
ว่า บุคคลนี้โกรธเพ่งอยู่ ดังนี้.
ในข้อนี้ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
ได้ยินว่า หญิง 2 คนกำลังนั่งกรอด้ายในบ้าน ภิกษุหนุ่ม 2 รูป
เที่ยวไปในบ้าน รูปหนึ่งเดินข้างหน้า ได้แลดูหญิงคนหนึ่ง หญิงนอกนี้ถาม
หญิงนั้นว่า เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุหนุ่มนี้จึงแลดูเธอดังนี้ นางตอบว่า ภิกษุ
นี้ไม่แลดูฉันด้วยจิตที่เป็นวิสภาคารมณ์ แต่แลดูด้วยสำคัญว่าเป็นน้องสาว ดัง
นี้ เมื่อภิกษุทั้ง 2 เที่ยวบิณฑบาตในบ้านแล้วก็มานั่ง ณ โรงฉัน ภิกษุนอกนี้
จึงถามภิกษุนั้นว่า ท่านแลดูหญิงคนนั้นหรือ. ท่านตอบว่า ขอรับกระผมแลดู.
ท่านแลดูเพื่อประโยชน์อะไร ภิกษุนั้นตอบว่า กระผมแลดูเธอด้วยคิดว่า เธอ
คล้ายน้องสาวของผม ด้วยอาการอย่างนี้ สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร บัณฑิต

พึงทราบว่า แม้ใคร ๆ แลดูแล้วก็พึงทราบได้ ดังนี้ ก็สัญญานี้นั้น มีปสาทวัตถุ
เท่านั้น แต่อาจารย์บางพวกแสดงว่า เพราะสัญญานั้นเป็นไปด้วยชวนะดังนี้.
สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวารเป็นสัญญาละเอียด เพราะความที่สัญญา
นั้น อันบุคคลพึงถามบุคคลอื่นแม้นั่งเตียงเดียวกัน หรือตั่งเดียวกันว่า ท่านคิด
หรือตรึกอะไร ดังนี้ จึงทราบได้ด้วยอำนาจแห่งคำบอกของบุคคลนั้น. คำที่
เหลือเช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแล.
นี้สัญญาขันธนิเทศ

4. สังขารขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 20)
พึงทราบวินิจฉัยสังขารขันธ์นิเทศ ต่อไป.
บทว่า เย เกจิ สํขารา (สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง) นี้ ทรงกำ-
หนดสังขารอันเป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เจตนา (เจตนา
อันเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงสังขารที่ทรง
ยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสังขารที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. บทว่า จกฺขุสมฺ-
ผสฺสชา
(เกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. คำ
ว่า เจตนา นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเป็นประธานสังขารทั้งเบื้อง
ต้นและเบื้องปลาย เพราะสังขาร 4 มาในพระบาลีเกิดขึ้นพร้อมกับจักขุวิญญาณ
โดยที่สุดทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ซึ่งบรรดาสังขารเหล่านั้น เจตนาชื่อว่า
เป็นประธาน เพราะปรากฏด้วยอรรถว่าเป็นตัวกระทำ เพราะฉะนั้น เจตนานี้
เท่านั้นทรงถือเอาแล้ว ก็สังขารที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้นย่อมเป็นอันทรงถือเอา
แล้ว ก็เพราะเจตนานั้น พระองค์ทรงถือเอาแล้วนั่นแหละ. แม้ในที่นี้ เจตนา 5
ข้างต้น มีจักขุปสาทเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดอย่างเดียว เจตนาที่เกิดแต่มโน